http://www.samunpaiphuluang.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

ผลิตภัณฑ์ภูหลวง

ตัวแทนจำหน่าย

สาระน่ารู้

เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา ทาง facebook หรือ โทร 038-448052 ถึง 3

สอบถาม

(อ่าน 1286/ ตอบ 1)

นก

เพิ่งรู้ว่าเป็นริดสีดวง ก่อนหน้านี้ไม่่เคยมีเลือด หรืออักเสบใดๆ จนมาสัปดาห์ก่อน อยู่ๆ ก็มีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากรูทวารหลายติ่งทั้งใหญ่เล็ก ติ่งค่อนข้างแข็ง เจ็บและมีอาการคันบางครั้ง ยัดติ่งเข้าไปด้านในพอได้แต่ซักแป๊บ ก็ดันออกมาหมด อาการขนาดนี้ ถ้ากินยาฉลากฟ้าไปเรือยๆ จะหายมั้ย และเราควรพยายามยัดติ่งเข้าไปในรูทวารหรือปล่อยไว้ภายนอก รอมันค่อยๆหดไปดีคะ


เจ้าหน้าที่

ต้องใช้เวลาในการทานยาค่ะ ... การทานยาต่อเนื่อง ... การรักษาก็จะต่อเนื่องค่ะ บางคนลืมทานยาบ่อยอาการก็จะหายช้าค่ะ ...



เนื่องจากมีอาการเจ็บมาก .คุณนก สามารรถทานยาของบริษัทควบคู่กับยาแก้อักเสบได้ แต่ทานยาแก้อักเสบแค่ 7 วันก็พอนะคะ  เพราะเป็นยาปฎิชีวนะ (ยาปฎิชีวนะ ถ้าทานมากเกินไปจะเกิดการสะสมคะ ไม่ดีต่อร่างกาย)หลังจากนั้นแล้ว ( 7 วัน) ก็ให้ทานแต่ยาของบริษัทอย่างเดียว...



ปกติแล้วคนที่เป็นริดสีดวง บางคนมีอาการถ่ายเป็นเลือด  บางคนก็ไม่มี --- บางคนมีอาการคันร่วมด้วย บางคนก็ไม่มี – บางคนมีอาการเจ็บ บางคนก็ไม่มี    สาเหตุที่แต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกันเนื่องจากต้องดูด้วยว่าเส้นเลือดดำที่โป่งพอง หรือ อักเสบ ภายในทวารหนัก เกิดขึ้นบริเวณไหน ถ้าเกิดบริเวณที่เวลาถ่ายอุจจาระ แล้วไปโดน เสียดสีกับเส้นเลือดดำที่อักเสบหรือโป่งพองอยู่ เวลาถ่าย ก็จะเจ็บ แสบ และ มีโอกาสมีเลือดปะปนออกมา แต่ถ้าจุดที่เกิดหัว หรือเส้นเลือดที่อักเสบ ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งที่อุจจาระไปโดน อาการถ่ายเป็นเลือด เจ็บ แสบ – บางคนก็ไม่มีอาการคะ


ระยะของโรคริดสีดวงทวารแบ่งตามความรุนแรงเป็น 4 ระยะ คือ ...
ระยะที่ 1 -- มีอาการถ่ายเป็นเลือด (บางคนก็ไม่มีอาการนี้) แต่คลำที่ทวารหนักแล้วเจอก้อน แต่ไม่มีการยื่นออกมานอกขอบทวาร
ระยะที่ 2 -- ริดสีดวงยื่นออกมานอกขอบทวาร ขณะถ่ายอุจจาระและเลื่อนกลับเข้าไปในทวารหนัก หลังถ่ายอุจจาระ
ระยะที่ 3 -- ริดสีดวงยื่นออกนอกขอบทวาร ขณะถ่ายอุจจาระ และหลังถ่ายอุจจาระต้องดันกลับเข้าไปในทวารหนัก
ระยะที่ 4 – ริดสีดวงทวารยื่นออกนอกทวารหนักตลอดเวลา


อาการของคุณอยู่ในระยะที่ 3 เข้าระยะที่ 4 ค่ะ ..


-----------------------------------------------
ถ้ากรณีที่มีเม็ดมีหัวออกมาแล้วเราสรุปเวลาที่แน่นอนในการทานยาให้ไม่ได้คือเพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง ปัจจัยที่ว่านะคะ …



1. พฤติกรรมการรับประทานยา .. ถ้าทานต่อเนื่องและทานได้วันละ 3 เวลา ครั้งละ 2 แคปซูล ช่วงที่ท้องว่าง (เนื่องจากยาไม่มีฤทธิ์กัดกระเพาะ) และ ถ้าทานตอนที่ท้องว่างพอแคปซูลละลายตัวยาจะได้ดูดซึมเลย ประสิทธิภาพของยาก็จะออกได้ประมาณ 80-90 %  แต่ถ้าทานตอนช่วงที่ทานอาหารแล้ว.. ยาอาจดูดซึมได้ไม่เต็มที่เนื่องจากอาหารดูดซึมตัวยาไปบางส่วนแล้ว ... ประสิทธิภาพอาจเหลือแค่ 50 % .... และบางคนลืมทานยาบ่อยมั้ย ดังนั้นเลยไม่สามารถบอกเลยคะว่าทานนานแค่ไหน แต่ถ้าทานต่อเนื่อง เข้าเดือนที่ 2-3 ก็น่าจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงแล้วคะ .. บางคนก็เร็วกว่านั้น



2. บริเวณที่เกิดการอักเสบหรือบริเวณเส้นเลือดดำที่โป่งพองแล้วแตกหรืออักเสบทำให้เกิดเม็ดเกิดหัว .... เพราะถ้าหัวริดสีดวงหรือบริเวณที่อักเสบที่เส้นเลือดดำภายใน ถ้าเกิดบริเวณที่อุจจาระไปโดนเวลาถ่ายก็มีโอกาสเจ็บอยู่แล้วคะและเวลาเวลา ขับถ่ายอุจจาระ อุจจาระก็ต้องไปโดนไปเสียดสีทุกครั้งดังนั้นแผลก็จะแห้งช้ากว่า คนที่บาดแผลหรือบริเวณที่อักเสบหรือตำแหน่งที่เกิดหัวริดสีดวงไม่ใช่บริเวณ ที่เวลาถ่ายอุจจาระแล้วอุจจาระไปโดน ......



3.เป็นมานานแล้วหรือยัง... บางคนเป็นริดสีดวงแล้วไม่ทราบว่าตัวเองเป็นคือ เกิดริดสีดวงภายในก่อนเป็นมานาน แล้วพอหัวที่อยู่ภายในเกิดออกมาอยู่ข้างนอกเป็นริดสีดวงภายนอกก็เลยเพิ่งนึกว่าตัวเองเป็น .....  บางคนก็ไม่เป็นริดสีดวงภายในเวลาเป็นก็เป็นริดสีดวงภายนอกเลย ...  ดังนั้นระยะเวลาการรักษาเลยไม่เหมือนกันคะ
4.เป็นมากเป็นน้อย ... บางคนเป็นแค่นิดเดียวการรักษาก็ไวหน่อย บางคนเป็นมากหัวโตก็ช้าหน่อย บางคนมีแค่หัวเดียว บางคนหัวริดสีดวงแตกมีหลายหัว



5. ติ่งแข็งมั้ย .. ถ้าติ่งแข็งหรือเริ่มแข็งคือไม่นิ่มเหมือนเนื้อปกติก็ต้องให้เวลาตัวยาละลายติ่งให้นิ่มก่อน เพราะถ้าติ่งเริ่มแข็งกว่าเนื้อปกติหรือกลายเป็นไตไปแล้ว (ติ่งแข็งแบบตายด้าน) กว่าติ่งจะรับยาได้ก็ต้องใช้เวลา



6. ท้องผูก ต้องออกแรงเบ่งบ่อยมั้ย .... ถ้าท้องผูกและต้องออกแรงเบ่งบ่อยริดสีดวงก็จะหายช้ามาก



7. ท้องเสีย หรือ ถ่ายเหลว บ่อยมั้ย ... ถ้าท้องเสียหรือถ่ายเหลวเป็นประจำก็จะหายช้า เนื่องจากการถ่ายเหลวก็เหมือนกับลำไส้ทำงานไม่ปกติค่ะ และการถ่ายเหลวนี่ก็อาจทำให้หัวริดสีดวงไม่หายซักที หรืออาการริดสีดวงเกิดการกำเริบได้ ... เมื่อเราต้องถ่ายเหลว หรือท้องเสีย อาจจะทำให้หัวของริดสีดวงใหญ่ขึ้น หรือมีอาการถ่ายเป็นเลือด เพราะอุจจาระที่ถูกขับออกมาอย่างแรง อาจทำให้เยื่อบุทวารหนักอักเสบ เป็นผลทำให้หลอดเลือดของทวารหนักขยายตัวและไม่หดกลับ



---------------------------------------------------
-- ทานยาวันนึงให้ได้ 3 เวลา ครั้งละ 2 แคปซูล ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ... ถ้าเป็นมาก สามารถเพิ่มการทานยาก่อนนอนได้อีก 2 แคปซูล …..
-- ดูแลตัวเองอย่าให้ท้องผูกหรือท้องเสีย ธาตุปกติดีที่สุด
-- อาหาร แสลงที่พบในหลายๆคน นะคะ ... บางคนก็ไม่แสลงนะคะ ... เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ .. เนื้อวัว ของหมักดอง ปูเค็ม ปลาร้า ปลาเค็ม ปลาหมึก กุ้ง หน่อไม้ ข้าวเหนียว แกงไตปลา น้ำบูดู แกงเหลือง .. อาหารรสชาติเผ็ด หรือเปรี้ยวมากเกินไป ... ถ้างดได้ควรงดก่อน
-- เรื่อง อากัปกิริยา ก็มีส่วนนะคะ ที่จะทำให้หายเร็วหรือช้า .... ควรจะดูแลตัวเองร่วมด้วยก็จะหายไวขึ้นค่ะ ....  ถ้าต้องนั่งทำงานทั้งวัน ให้ลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้เลือดได้มีการไหลเวียนไม่ถูกกดทับนานเกินไป.... ถ้าต้องเดินนานๆ ก็อย่านานเกิน เพราะมันจะมีการเสียดมีนาน จะยิ่งทำให้อักเสบมากขึ้น ...  พยายามอย่า ยืน เดิน นั่ง นานเกิน ให้ เปลี่ยนท่าบ้าง การนอน ถ้าเป็นไปได้ช่วงนี้พยายามนอนคว่ำหรือนอนตะแครง...และพยายามอย่าก้มยกของหนักด้วยนะคะ .. เพราะจะดันให้หัวริดสีดวงออกมาง่าย
------------------------------------------------------



โดยส่วนมากแล้ว 90 % จะได้ผล จะมีแค่ 10 % ที่ไม่ได้ผล คือ
1. ใจร้อน
2. ท้องผูก ท้องเสียตลอดเวลา
3. ทานอาหารแสลงตลอดเวลา ทั้งๆที่รู้ว่าริดสีดวงของเราแสลงกับอาหารนั้น ...
4. ร่างกายไม่รับยาเลย ร่างกายรับยาของเราไม่ค่อยได้ เหมือนไม่ถูกกับยา .. แต่น้อยคนนะคะ ... เช่น เหมือนกับการที่เราทานยาแก้ปวดหัว ยี่ห้อ A แล้วไม่ได้ผล เหมือนไม่ถูกกับยา เลยต้องเปลี่ยนเป็นยี่ห้อ B C หรือ



 



สอบถามเพิ่มเติมได้นะคะ



 



Page : 1
Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
รูปภาพ
(นามสกุลไฟล์ควรเป็น [ jpg , jpeg , gif ] และไฟล์ไม่เกิน 3 MB.)
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 หน้าแรก

 ผลิตภัณฑ์ภูหลวง

 สาระน่ารู้

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view