http://www.samunpaiphuluang.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

ผลิตภัณฑ์ภูหลวง

ตัวแทนจำหน่าย

สาระน่ารู้

เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา ทาง facebook หรือ โทร 038-448052 ถึง 3

10 ปัญหาคาใจเกี่ยวกับการนอน

10 ปัญหาคาใจเกี่ยวกับการนอน








ทำไมการนอนจึงสำคัญ


การนอนทำให้กล้ามเนื้อและอวัยวะทุก ส่วนได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ พร้อมสำหรับการทำงานในวันต่อไป เมื่อนอนน้อยอาจส่งผลให้ทำงานผิดพลาด ทำงานได้น้อยลง คุณภาพงานต่ำกว่าปกติ และมีงานวิจัยในต่างประเทศ พบว่า คนที่นอนน้อยกว่า 4 ชม. หรือนอนมากกว่า 10 ชม. ต่อคืน เป็นประจำ อาจมีอายุสั้นกว่าคนที่นอนหลับปกติ คนที่นอนไม่เพียงพอนานๆ อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดเมื่ออายุมากขึ้น และการนอนระหว่าง 21. 00-22.00 น. จะได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะโกร๊ธ ฮอร์โมน ( growth homone) หลั่งออกมาอย่างเต็มที่ในช่วง 22.00-24.00 น. ช่วยซ่อมสร้างเซลล์ในร่างกาย และควรนอนให้ได้อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ต่อวัน


นอนหลับท่าไหนดีที่สุด


การนอนมีความสัมพันธ์กับกระดูกสันหลัง เพราะหากนอนผิดท่า เช่น นอนงอตัวหรือนอนบิดตัว ติดต่อกันหลายๆ ปี อาจทำให้กระดูกสันหลังเลื่อนออกนอกแนวระนาบ ผิดรูป หรือคดงอได้ ท่านอน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นอนหลับสนิท ตื่นนอนอย่างสดชื่นและไม่ปวดเมื่อย


นอนหงาย ควรใช้หมอนหนุนหัวแบบต่ำเพื่อให้ต้นคออยู่แนว เดียวกับลำตัว ป้องกันการปวดคอจากนอนคอพับ

หรือนอนเงยคอมากเกินไป แต่ท่านี้ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกด ทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก หัวใจทำงานลำบากขึ้น การนอนหงาย ยังอาจทำให้ผู้มีอาการปวดหลังมีอาการรุนแรงขึ้นด้วย


นอนตะแคง การนอนตะแคงขวาช่วยให้หัวใจทำงานสะดวก และอาหารที่ค้างในกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ช่วยลดอาการปวดหลังได้ทางหนึ่ง แต่การนอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เสียดลิ้นปี่ เพราะอาหารย่อยไม่หมดและค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร หญิงตั้งครรภ์ควรนอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกไปกดทับกระดูกสันหลังและเส้นเลือด แดงใหญ่กลางลำตัว


นอนคว่ำหน้า อาจทำให้หายใจติดขัดและปวดต้นคอ เพราะคอแอ่นมาทางด้านหลังหรือบิดไปด้านใดด้านหนึ่งเป็นเวลานานๆ ถ้าต้องนอนคว่ำหน้าควรใช้หมอนรองใต้หน้าอกเพื่อไม่ให้ปวดเมื่อยต้นคอ


เลือกซื้อที่นอนอย่างไรดี


ที่นอนควรมีขนาดกลางๆ ไม่นิ่ม หรือแน่นเกินไป (แต่ถ้าต้องเลือกระหว่างที่นอนนิ่ม กับที่นอนแน่น ควรเลือกที่นอนแน่น เพราะที่นอนนิ่มจะทำให้ปวดหลังได้มากกว่า) แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและสรีระของแต่ละบุคคล ถ้าคุณลองนอนดูแล้ว ไม่เกิดอาการปวดหลังก็ถือว่าใช้ได้ และควรเลือกที่นอนที่ยาวกว่าความสูงของตัวเองอย่างน้อย 15 ซม. และพิจารณาสิ่งสำคัญต่อไปนี้ด้วย


ความแน่นของที่นอน (Firmmess) ขึ้นอยู่กับความชอบและรูปร่างของผู้นอน เช่น คนที่รูปร่างใหญ่ จะเหมาะกับที่นอนแน่นเป็นพิเศษ
ชั้น โอบรับ (Conformity) คือมีส่วนที่สัมผัสและโอบรับกับร่างกายอย่างเหมาะสม เข้ากับส่วนโค้งเว้าได้ดี จะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและนอนหลับสบายขึ้น


ความแข็งของที่นอน (Edge Support) คือ ความสามารถในการรับน้ำหนัก โดยเฉพาะช่วงขอบของที่นอน ป้องกันการยุบตัว และไม่เกิดการลื่นไหลเวลานั่งขณะขึ้นหรือลงจากที่นอน

เมื่อใช้ที่นอนนานเกิน 6 เดือน ควรกลับที่นอนอีกด้านหนึ่งขึ้นมาใช้ เพื่อไม่ให้ที่นอนถูกใช้งานเพียงด้านเด ียว เพราะทำให้ที่นอนเสื่อมสภาพเร็ว และควรกลับด้านหัวนอนและปลายเท้าสลับกันด้วย เพื่อใช้งานอย่างทั่วถึงทั้งสี่ด้าน


หมอนแบบไหนดีที่สุด


การหนุนหมอนที่ไม่มีคุณภาพนานๆ อาจทำให้กระดูกต้นคอ กดทับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หรือเกิดเป็นลิ่มเลือดอุดตัน หากลิ่มเลือดขึ้นสมองอาจกลายเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ คุณจึงควรสังเกตอยู่เสมอว่ามีอาการปวดช่วงต้นคอหลังจากตื่นนอนด้วยหรือไม่ หมอนที่ดีควรนอนแล้วรับกับกระดูกต้นคอได้พอดี เสมอเป็นระนาบเดียวกับลำตัว นอนแล้วคอไม่แหงนหรือพับ วัสดุที่ใช้ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน


ใยสังเคราะห์ มีทั้งแบบนุ่มฟูและแน่นขึ้นอยู่กับความชอบ ข้อดีคือมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามรูปศีรษะ คืนรูปและระบายอากาศได้ดี ข้อจำกัด คือ เสื่อมสภาพเร็ว อายุใช้งานไม่คงทน


โฟมลาเทกซ์ แข็งและแน่นมากกว่าหมอนประเภทอื่นๆ ข้อดีคือ คงทน อายุการใช้งานนาน ข้อจำกัดคือ การระบายอากาศไม่ดี หากเลือกขนาดไม่เหมาะกับศีรษะอาจนอนแล้วปวดคอได้


ยางพารา มีทั้งแบบแข็งและแบบนิ่ม ข้อดีคือ คงทน อายุการใช้งานนาน ข้อจำกัดคือ การระบายอากาศไม่ดี


ขนเป็ด มีความนุ่มฟูเป็นพิเศษ เหมาะกับผู้ที่ชอบหมอนนุ่มมากๆ มีข้อจำกัด เรื่องการทำความสะอาด (ซักไม่ได้) และราคาค่อนข้างสูง


นุ่น เป็นวัสดุที่ดีในการทำเครื่องนอน เพราะสามารถปรับให้รับกับสรีระของผู้นอนได้ และราคาไม่แพง แต่มีข้อจำกัด คือ การทำความสะอาดยากและอาจมีเศษนุ่นหลุดเป็นละออง ออกมาจึงไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้


เราจำเป็นต้องมีหมอนหนุนของตนเองหรือเปล่า


ควร เพราะสรีระแต่ละคนแตกต่างกัน ขนาดของหมอนที่เหมาะกับแต่ละคนจึงต่างกันไปด้วย การเลือกหมอนต้องดูความเหมาะสมกับร่างกาย เช่น ผู้ที่รูปร่างใหญ่ หรือนอนกรน ควรใช้หมอนที่สูง เพื่อให้คออยู่ระนาบเดียวกับลำตัวพอดี ทำให้รู้สึกไม่อึดอัด และลดการนอนกรน หากเป็นคนตัวเล็กอาจหนุนหมอนต่ำลงมาหน่อยเพื่อรักษาแนวระนาบของลำตัว


สำหรับรูปทรงของหมอนขึ้นอยู่กับท่านอน ของแต่ละคน ควรเลือกหมอนที่มีขนาดใหญ่พอสมควร และมีส่วนกว้างออกมาถึงช่วงไหล่ เวลาพลิกตัวจะได้ไม่ตกหมอน หมอนที่มีส่วนเว้าโค้ง ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกับต้นคอ จะเหมาะกับท่านอนหงาย หากนำมาใช้นอนตะแคงอาจปวดต้นคอ และลองนอนหนุนหมอนทุกครั้งก่อนซื้อ เพื่อทดสอบความพอดีกับต้นคอ ความสูง ความนิ่ม ว่าเหมาะสมกับตัวเองมากน้อยเพียงใด


นอกจากนี้ ยังมีหมอนเพื่อรองรับการใช้งานรูปแบบอื่นๆ เช่น หมอนรองเอว หมอนรองขา หมอนรองคอ หมอนข้าง ผู้ที่มีปัญหาเวลานอนแล้วปวดขา ปวดเอว อาจซื้อหมอนประเภทนี้มารองเพื่อให้รู้สึกนอนสบายยิ่งขึ้นก็ได้


หมอนสุขภาพจำเป็นไหม


หมอนสุขภาพมีการผลิตจากวัสดุหลาย ประเภท เช่น โฟมลาเทกซ์ หรือยางพารา ฯลฯ ซึ่งอาจผลิตให้โค้งเว้าเพื่อรองรับกระดูกต้นคอให้ได้ระนาบเวลานอนมากขึ้น ซึ่งมีข้อดีคือรองรับต้นคอได้พอดีเมื่อนอนหงาย แต่อาจไม่เหมาะกับผู้ที่ชอบนอนตะแคงเพราะจะคอเอียงและปวดคอได้


ส่วนหมอนที่ผลิตจากเปลือกไม้หรือ เปลือกเมล็ดพืช เป็นหมอนที่ผลิตเพื่อรองรับและให้เข้ารูปกับศีรษะและต้นคอของผู้นอนแต่ละคน ซึ่งหลายคนที่เคยทดลองใช้ให้ความเห็นว่านอนหลับสบายขึ้น แต่มีข้อจำกัดคือราคาแพง และต้องผึ่งแดดบ่อยๆ เพื่อป้องกันความชื้นและแมลง


จะรู้ได้อย่างไรว่าควรเปลี่ยนเครื่องนอนชุดใหม่แล้ว


อายุของที่นอน/หมอนไม่ควรเกิน 15 ปี ถ้าเกินกว่านี้ก็ต้องสังเกตว่าคุณปวดหลัง ปวดตัว ทุกครั้งที่ตื่นนอน หรือที่นอนยุบลงไปเป็นแอ่งหรือเปล่า ทั้งที่คุณกลับด้านหน้า ด้านหลังมาใช้แล้ว ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณควรเปลี่ยนที่นอนหลังใหม่ เช่นเดียวกับหมอน ถ้านอนแล้วไม่รู้สึกสบายรู้สึกปวดคอ ก็ควรเปลี่ยนได้แล้วค่ะ


การนอนกับพื้นดีกว่านอนบนที่นอนจริงไหม


การนอนกับพื้นแข็งมากๆ ทำให้เกิดการกดทับเป็นเวลานาน ระบบเลือดไหลเวียนลำบาก ทำให้เมื่อย และอาจเกิดอาการชาได้ การนอนพื้นจึงควรปูที่นอนบุนวมนิดหน่อย เพื่อกระจายแรงกดทับของหลังกับพื้นโดยตรง แต่ทั้งนี้การนอนพื้นก็ไม่มีผลกระทบร้ายแรงแต่อย่างใด ถ้าคุณนอนแล้วไม่เกิดอาการปวด หรือเมื่อยหลังก็สามารถนอนได้ค่ะ


เครื่องนอนเคลือบสารป้องกันไรฝุ่นเชื่อได้แค่ไหน


ไรฝุ่น (dust mite) เป็นสัตว์ประเภท "แมง" กินเศษผิวหนังและรังแคเป็นอาหาร ไรฝุ่นจึงพบมากที่สุดในห้องนอน และเครื่องนอนต่างๆ 10% ของน้ำหนักหมอนที่เราใช้นาน 2 ปีขึ้นไป มาจากตัวไรฝุ่นและอึของมัน เช่นเดียวกับที่นอนที่ใช้นาน 6 เดือนก็อาจมีไรฝุ่นมากพอที่ทำให้คนเป็นภูมิแพ้เกิดอาการได้


ที่นอน ที่ทำจากใยสังเคราะห์ ฟองน้ำ ใยมะพร้าว หรือยางพารา เมื่อใช้ไประยะหนึ่งก็เกิดไรฝุ่นได้ ที่นอนที่ไม่มีไรฝุ่น คือ ที่นอนน้ำ (water bed) ส่วนหมอน ควรเลี่ยงชนิดที่ทำจากขนสัตว์ ฟองน้ำ นุ่น แต่ถ้าต้องการใช้ควรหุ้มด้วยผ้ากันไรฝุ่นอีกชั้นก่อนใส่ปลอกหมอนธรรมดา


เครื่องนอนเคลือบสารกันไรฝุ่นอาจช่วย ป้องกันคุณให้ปลอดภัยจากไรฝุ่นได้ในระดัับหนึ่ง สังเกตได้จากคำว่า Microban Allergy Control หรือ Scot guard ควรเลือกปลอกหมอน ผ้าปูที่นอนกันไรฝุ่น ที่ทำจากผ้าเนื้อแน่น ทอละเอียด ปูทับก่อนปูผ้า หรือปลอกหมอนธรรมดา หากเป็นผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ควรซักผ้าด้วยน้ำอุ่น เพื่อฆ่าไรฝุ่นด้วย แต่ถ้าไม่ได้ใช้ผ้าปูที่นอน หรือปลอกหมอนกันไรฝุ่น ควรทำความสะอาดที่นอนเป็นประจำทุก เดือน ซักผ้าด้วยน้ำร้อน 60 องศาเซลเซียส ทุก 1-2 สัปดาห์


เราควรเลือกปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนอย่างไร


ผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนเป็นส่วนที่ สัมผัสกับร่างกายโดยตรง เนื้อผ้าที่ใช้ควรเป็นผ้านิ่ม เพราะผ้าที่แข็งเกินไปอาจทำให้เกิดรอยยับ หากรอยยับนั้นมากดบนผิวหน้าหรือร่างกายบ่อยครั้งอาจเกิดปัญหาตามมาได้ การเลือกจึงควรเลือกผ้าที่จับแล้วสบายมือพอสมควร ไม่หลุดเป็นขุย เนื้อผ้าที่นิยมใช้ทำเครื่องนอนได้แก่ ผ้า Cotton หรือผ้าฝ้าย ควรเลือกที่เป็น cotton 100% เพราะเนื้อผ้าจะนิ่ม ไม่ระคายผิว ผ้า Cotton satin เป็นผ้าที่ผสมระหว่างผ้าฝ้ายและผ้าไหม เนื้อผ้าจึงนิ่มและลื่นกว่าผ้า Cotton ซึ่งราคาก็สูงกว่าตามไปด้วย


พึงระลึกเสมอว่าของดีราคาถูกไม่มีและ ควรลงทุนกับเรื่องของสุขภาพให้มากๆ เพื่อที่เราจะได้มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และให้การนอนเป็นการพักผ่อนที่มีความสุขอย่างแท้จริง......

 

 

ที่มา : hunsa.com

 


ความคิดเห็น

  1. 1
    วา
    วา mewisa-@hotmail.com 14/04/2010 19:05

    Smileขอบคุณที่ให้สาระน่ารู้ค่ะ ชอบค่ะกับคำว่าควรลงทุนกับเรื่องสุขภาพให้มากๆ...

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 ผลิตภัณฑ์ภูหลวง

 สาระน่ารู้

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view